วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ จะทำงานได้ต้องประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกันคือ
1. หน่วยรับเข้า (Input Unit)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
4. หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit)
5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)

1. หน่วยรับเข้า (Input Unit)

ทำหน้าที่รับข้อมูลคำสั่งจากผู้ใช้ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผล ข้อมูลที่รับเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์มีหลากหลาย เช่น ตัวอักษร, ตัวเลข, รูปภาพ, เสียง เป็นต้น โดยผ่านอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลรูปแบบต่างๆ เมาส์, คีย์บอร์ด, เครื่องอ่านพิกัด, เครื่องอ่านรหัสแท่ง, เครื่องสแกน, กล้องดิจิทัล, ไมโครโฟน

2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)

ทำหน้าที่ประมวลผล คำนวณ และควบคุมการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
  • 1. หน่วยควบคุม (Control Unit : CU)
ทำหน้าที่อ่านคำสั่ง สั่งงาน และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
  • 2. หน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit : ALU)
ทำหน้าที่คำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบข้อมูลมากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น


3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  • 1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM)
เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวร หรือไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไว้บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่บรรจุลงไปในหน่วยความจำจะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่องไปแล้ว แต่ไม่สามารถบรรจุข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้
ROM

  • 2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory : RAM)
เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผล หากเกิดไฟฟ้าดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลที่อยู่ภายในจะหายไปทั้งหมด
RAM


4. หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit)
เป็นหน่วยความจำที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป ไม่มีทางสูญหายหลังจากเปิดเรื่องคอมพิวเตอร์แล้ว


5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมาให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ได้ตามต้องการ ซึ่งการส่งออกเป็นผลัพธ์สามาถส่งออกได้หลายรูปแบบ เช่น ภาพ, เอกสาร, เสียง และอุปกรณ์ที่สามารถแสดงผลลัพธ์ก็มีหลายนิด เช่น ลำโพง, จอมอนิเตอร์, เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์, เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
Output Unit


หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์
เริ่มจากผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จากนั้นก็จะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และอุปกรณ์แสดงผล

 

 


  • ขั้นตอนที่ 1 รับข้อมูล คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็นต้น
 
  • ขั้นตอนที่ 2 ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด

    
  • ขั้นตอนที่ 3 จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ตยูเอสบีไดร์ ซึ่งหน่วยเก็บข้อมวลนี้สามารถ แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
3.1 หน่วยควมจำหลัก สามารถแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ดังนี้คือ
3.1.1 หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM)


3.1.2 หน่วยความจำแบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร แม้ไฟจะดับข้อมูลก็จะยังอยู่เหมือนเดิม เรียกว่า รอม (ROM)


3.2 หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต ยูเอสบี

 
  • ขั้นตอนที่ 4 แสดงผลข้อมูล เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น


ที่มา:
http://natnalin33.blogspot.com/2014/01/2.html
http://itnonkokm4.blogspot.com/2013/11/2.htm

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์




ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
4. สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
5. โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสาร ที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส
โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
วอยซ์เมล (Voice Mail) 
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าว อยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียง พูดตามเดิม
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ประชุม
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPS)
เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์(groupware)
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงาน ร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย 
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT) 
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัน สมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์



ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลง สัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ
เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)
สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น สัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
ตัวกลางการสื่อสาร
1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
- สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
- สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
- สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)
สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
- แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
- สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
- ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
- การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
1. ราคา
2. ความเร็ว
3. ระยะทาง
4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
5. ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
1. บลูทูธ (Bluetooth)
2. ไวไฟ (Wi-Fi)
3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)


ที่มา: https://chalad.wordpress.com/subject/31241-2/31241-lesson-3/
https://blog.eduzones.com/jipatar/85916
http://www.thaigoodview.com/node/53181

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ


โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์

ในการสร้างงานสื่อสร้างสรรค์ประเภทของคลิปวีดีโอนั้น สามารถใช้โปรแกรมในการทำงานได้หลากหลาย แบ่งเป็นหลายระดับ คือ
1 ระดับพื้นฐาน หมายถึงระดับที่สามารถมาทำวีดีโออย่างง่าย เช่น สไลด์โชว์ นำภาพมาทำให้มันน่าสนใจขึ้น ใส่ Effect และ Transition เข้าไปให้มันน่าสนใจขึ้น หรือการ Encode แปลงไปวีดีโอประเภทต่าง ๆ เช่น Movie Maker Cinema Craft Mpeg Encoder Cool DVD Multi Channel Cyberlink Media Show Cyberlink Stream Author Ulead Media Studio Photoshow เป็นต้น
2 ระดับกลาง หลักการทำงานจะซับซ้อนกว่าระดับพื้นฐานข้างบนมาหน่อยหนึ่ง
แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป เช่น Pinnacle Ulead ProShow Gold Power Director เป็นต้น
3 ระดับมืออาชีพ หรือ Studio โปรแกรมต่อไปนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้งานยากกว่า 2 ระดับที่กล่าวมาแล้ว งานจะออกมาดีต้องใช้การ Creative สูงมาก ๆ ครับ กว่าจะใช้ให้ชำนาญได้ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนเป็นเวลานาพอสมควร อาจจะเป็นปี ๆ อีกอย่าง การที่จะตัดต่องานได้ไม่สะดุดเราต้องอาศัยทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์และการ์ดตัดต่อ ซึ่งแต่ละอย่างก็ซื้อในราคาที่แพงแสนแพง ยิ่งต้องตัดต่องาน High Definition Video ด้วยแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคอมพิวเตอร์สเป็คสูง ๆ และการ์ดตัดต่อราคาแพง ๆ โปรแกรมที่ว่านี้ เช่น
1) Adobe Premiere (สำหรับ Studio ทั่วไป จะนิยมใช้ตัวนี้)
2) Sony Vegas (สำหรับตัวนี้น้องใหม่มาแรงในตอนนี้ ใช้งานง่าย อาจจะง่ายกว่าโปรแกรมอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน)
3) AfterEffect (ใช้ทำ Effect ตามชื่อของมัน)
4) Combustion (ตัวนี้ก็สุดยอดการตัดต่ออีกตัวหนึ่ง ตัดต่อและใส่ Effect ระดับหนัง Hollywood สามารถวางองค์ประกอบวิดีโอสไตล์ 2 มิติ และ 3 มิติ ได้)
5) Avid (ตัวนี้สำหรับ Broadcast ตัดต่อหนังและวีดีโอ รายการข่าวระดับมือโปร
(Film and Video Production) ตัวนี้ทำงานกับ คอมพิวเตอร์ PC บนระบบปฏิบัติการ Windows
6) Final Cut ตัวนี้ก็สำหรับตัดต่อหนังเหมือนกัน ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Mac

วิดีโอตัวอย่างการตัดต่อวิดีโอ







ที่มา:http://www.krusamorn.com/media/?page_id=56
        https://www.youtube.com/watch?v=3iyYUoIuvvs
        https://www.youtube.com/watch?v=vH7sLl9iblE

ขั้นตอนการเขียนบทสารคดี

ขั้นตอนการเขียนบทสารคดี


1. กำหนดแก่นเรื่อง (theme)
ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า ธีม ก่อน ธีม หมายถึง แก่น สาระสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการจะบอกกับผู้รับสาร ซึ่งถ้าหากเราดูความหมายก็ไม่น่าจะเข้าใจยากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า ธีมนี้จะว่าเข้าใจยากก็ยาก จะง่ายก็ง่าย เพราะแท้ที่จริงแล้วในงานเขียนทุกประเภทหรือถ้ามองกว้างออกไปหน่อย ในงานศิลปะทุกประเภท จะต้องมีการกำหนดธีมขึ้นมาทั้งนั้น คำว่าธีมนั้นไม่ยากแต่ความยากจะอยู่ในกระบวนการเขียน ซึ่งผู้เขียนหน้าใหม่มักจะประสบปัญหาว่า ตนเองไม่สามารถค้นหาธีมออกมาได้ แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ หากมีการฝึกฝนบ่อยๆ ต่อไป เมื่อจะเขียนก็จะมีการคิดธีมออกมาก่อนโดยอัตโนมัติ

2. กำหนดพล็อต และวิธีนำเสนอ
เมื่อผู้เขียนบทได้ธีมแล้ว ขั้นตอนต่อมาจะต้องหาข้อมูลที่สามารถสนับนุนที่ทำให้ธีมของเราเด่นชัดขึ้น ข้อมูลที่นำเสนอนั้นจะต้องทำให้ผู้ชมสามารถเชื่อในธีมที่ผู่เขียนกำหนดขึ้นมาได้ เมื่อได้ชุดข้อมูลหรือพล็อตแล้ว ผู้เขียนบทจะต้องหากลวิธีนำเสนอที่น่าสนใจสามารถดึงดูดให้ผู้ชมสนใจได้

3. คิดให้เป็นภาพ
ปัญหาของผู้เขียนบทส่วนใหญ่ คือ การไม่ได้เริ่มต้นจากคิดเป็นภาพ เขียนบทไปเรื่อยๆ ตามข้อมูลหรือความคิดคำนึงของตนเอง โดยยังไม่รู้ว่าจะนำเสนออกมาเป็นภาพอย่างไร ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญ เพราะเท่าที่พบงานสารคดีทางโทรทัศน์ส่วนใหญ่จะลอกข้อมูลมาจากหนังสือ โดยยังไม่ผ่านการกลั่นกรอง หรือตีออกมาเป็นภาพเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้สารคดีทางโทรทัศน์จืดชืด เหมือนกับมาอ่านหนังสือให้คนดูฟัง



ที่มา:http://www.huso.kku.ac.th/thai/radio&television/homepage3/doc3_4.html

การจัดการขยะในบ้าน

1. ลดการขนขยะเข้าบ้าน เช่น ถุงพลาสติก ถุงกระดาษ กระดาษห่อของ โฟม หนังสือพิมพ์ ฯลฯ หากท่านมีความจำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้จริง ๆ ไม่ควรใช้ให้บ่อยครั้งเกินไป และเมื่อท่านจะขออะไรเข้าบ้านขอให้ฉุกคิดถึง ความจำเป็นสักนิดว่าสิ่งนั้นจะก่อให้เกิดขยะ ปริมาณเท่าใด มิใช่เห็นแก่ความสะดวกสบายเพียงอย่างเดียวแล้ว ท่านก็จะสามารถลดปริมาณขยะภายในบ้านได้

2. นำสิ่งของที่ใช้กลับมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า หรือนำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วมาหมุนเวียนดัดแปลง ใช้ประโยชน์อีก เช่น ถุงพลาสติก ถุงกระดาษที่ไม่เปรอะเปื้อน ให้เก็บไว้ใช้ใส่ของอีก ส่วนขวดแก้วขวดพลาสติกกระป๋องเครื่องดื่มก็สามารถนำมา ดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้อีกมาก สำหรับกระดาษที่ใช้ในสำนักงานชนิดสีขาว สามารถนำใช้อีกด้านหนึ่งได้ โดยอาจนำทำกระดาษทดเลข กระดาษจดบันทึกโทรศัพท์หรือใช้ห่อของได้


3. การใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม ปัจจุบันผู้ผลิตสินค้าชนิดเติม หรือที่เรียกว่า 'Refill' ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเพราะ นอกจากจะราคาถูกกว่าแล้ว ยังเป็นการลดบรรจุภัณฑ์หีบห่อ ในส่วนที่เป็นขยะภายในบ้านได้ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนในการใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการผลิตอันเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยทางอ้อมได้อีกด้วย สินค้าที่นิยมผลิตเป็นชนิดเติม ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ภายในบ้านได้แก่ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยาปรับสภาพ ผ้าสบู่เหลว รวมถึงอาหาร และเครื่องดื่มสำเร็จรูปหลายชนิด

4. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้โฟม และพลาสติก หากเป็นไปได้ไม่ควรใช้เลยจะดีกว่าแม้ว่าจะมีการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นถุงพลาสติก ที่สามารถย่อยสลายได้ในแสงอาทิตย์แต่ถุงพลาสติกนั้นจะต้องอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมจึงจะสามารถย่อยสลายได้เช่น มีแสงและความชื้นพอเหมาะ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานนับสิบปี ควรใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าสำหรับใส่ของแทนการใช้ถุงพลาสติกจะดีกว่าและสามารถใช้ได้หลายครั้งเป็นการช่วยลดขยะชนิดถุงพลาสติกได้

5. แยกประเภทขยะภายในบ้านเพื่อสะดวกแก่ผู้เก็บขน และยังสามารถนำขยะบางชนิดไปขายเพิ่มรายได้ให้เข้าบ้านอีกด้วย

6. แปรสภาพขยะให้เป็นปุ๋ย ขยะที่ย่อยสลายได้เช่น เศษพืชผัก ใบไม้ สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยใส่ต้นไม้และบำรุงดินเป็นการลดการซื้อปุ๋ยเคมีซึ่งนอกจากราคาแพงแล้วยังมีสารพิษตกค้างด้วย

7. ลดปริมาณขยะอันตรายในบ้าน อาจทำได้ด้วยการรักษาความสะอาดภายในบ้าน จัดสิ่งของเครื่องใช้ให้มีระเบียบกำจัดเศษอาหารเศษภาชนะ แตกหักหรือที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ทิ้ง ซึ่งนอกจากจะทำให้บ้านเรือนสวยงามเป็นระเบียบ แล้วยังป้องกันสัตว์พาหนะที่นำเชื้อโรค จากขยะมาสู่คนได้ด้วย เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน มารบกวน หากมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดสัตว์ เหล่านั้น ควรหันมาใช้วิธีทางธรรมชาติ ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแทน เช่น การใช้การะบูนป้องกันมดและแมลงสาบเป็นต้น จะช่วยลดขยะที่เป็นกระป๋องสารเคมีป้องกันแมลง ภายในบ้านได้

8. เก็บรวบรวมขยะภายในบ้านให้เรียบร้อย ใส่ภาชนะที่ถูกหลักสุขาภิบาลเพื่อความสะดวกแก่พนักงานเก็บขนและขยะที่เป็นเศษอาหาร ควรเก็บรวบรวมใส่ถุงให้เรียบร้อยเพื่อเวลาเก็บขนจะได้ไม่หกเลอะ สกปรก และก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นในระหว่างที่รอพนักงานมาเก็บรวบรวม

ที่มา:https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/monpit-a/kya.htm

ประเภทและสีของถังขยะ


ประเภทและสีของถังขยะ

ถังขยะทั้งหมดมีอยู่ 4 ประเภท แต่ละประเภทนั้นก็รับขยะต่างกัน แต่ในปัจจุบันนั้น คนส่วนใหญ่มักจะทิ้งขยะลงถังไม่ถูกประเภทกัน เช่น กล่องโฬมทิ้งถังขยะสีเขียวบ้าง ถังขยะสีแดงบ้าง ซึ่งคนแบบนี้มักจะเป็นคนที่มักง่าย ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นคนเห็นแก่ตัว คิดว่าใกล้ถังขยะประเภทไหนก็ทิ้งลงถังนั้น ดังนั้นเราควรทิ้งขยะให้ถูกต้อง ตามสีและประเภทของถังขยะ เพื่อง่ายต่อการแยกขยะ ดังนี้

1. ถังขยะ สีเขียว คือ ถังขยะที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร กิ่งไม้ ใบไม้ ผัก และขยะอีกมากมายที่สามารถย่อยสลายได้




2. ถังขยะ สีเหลือง คือ ถังขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ เช่น กระดาษ ขวดน้ำ แก้วน้ำ เศษเหล็ก





3. ถังขยะ สีน้ำเงิน คือ ถังขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้ เช่น โฟม ถุงขนม พลาสติก





4. ถังขยะ สีแดง คือ ถังขยะที่เป็นพิษ เช่น กระป๋องสี สีสเปรย์ แบตเตอรี่ ยาฆ่าแมลง และอื่นๆ ที่เป็นพิษ




ที่มา:http://www.promptstore.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539865798

ประเภทของขยะ

ขยะมีกี่ประเภท…


โดยทั่วไปแล้วขยะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่



(1) ขยะย่อยสลาย หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมา หมักปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

(2) ขยะรีไซเคิล หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋อง เครื่องดื่ม เศษพลาสติก เศษโลหะ อลูมิเนียม ยางรถยนต์ กล่องเครื่องดื่ม แบบ UHT เป็นต้น

(3) ขยะทั่วไป หรือ มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลีกษณะที่ย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก เปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอยล์เปื้อนอาหาร ซองหรือถุงพลาสติกสำหรับบรรจุเครื่องอุปโภคด้วยวิธีรีดความร้อน เป็นต้น

(4) ขยะอันตราย หรือ มูลฝอยอันตราย คือ มูลฝอยที่ปนเปื้อน หรือมีองค์ประกอบของวัตถุดังต่อไปนี้

  • วัตถุระเบิดได้
  • วัตถุไวไฟ
  • วัตถุออกไซต์และวัตถุเปอร์ออกไซต์
  • วัตถุมีพิษ
  • วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
  • วัตถุกัมมันตรังสี
  • วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
  • วัตถุกัดกร่อน
  • วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
  • วัตถุอย่างอื่นที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรืออาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืชหรือทรัพย์ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่ายไฟฉายหรือแบตเตอรี่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะที่ใช้บรรจุสารกำจัดแมลงหรือวัชพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น


ที่มา:http://www.environnet.in.th/?p=4315