ขั้นตอนการเขียนบทสารคดี
1. กำหนดแก่นเรื่อง (theme)
ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า ธีม ก่อน ธีม หมายถึง แก่น สาระสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการจะบอกกับผู้รับสาร ซึ่งถ้าหากเราดูความหมายก็ไม่น่าจะเข้าใจยากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า ธีมนี้จะว่าเข้าใจยากก็ยาก จะง่ายก็ง่าย เพราะแท้ที่จริงแล้วในงานเขียนทุกประเภทหรือถ้ามองกว้างออกไปหน่อย ในงานศิลปะทุกประเภท จะต้องมีการกำหนดธีมขึ้นมาทั้งนั้น คำว่าธีมนั้นไม่ยากแต่ความยากจะอยู่ในกระบวนการเขียน ซึ่งผู้เขียนหน้าใหม่มักจะประสบปัญหาว่า ตนเองไม่สามารถค้นหาธีมออกมาได้ แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ หากมีการฝึกฝนบ่อยๆ ต่อไป เมื่อจะเขียนก็จะมีการคิดธีมออกมาก่อนโดยอัตโนมัติ
2. กำหนดพล็อต และวิธีนำเสนอ
เมื่อผู้เขียนบทได้ธีมแล้ว ขั้นตอนต่อมาจะต้องหาข้อมูลที่สามารถสนับนุนที่ทำให้ธีมของเราเด่นชัดขึ้น ข้อมูลที่นำเสนอนั้นจะต้องทำให้ผู้ชมสามารถเชื่อในธีมที่ผู่เขียนกำหนดขึ้นมาได้ เมื่อได้ชุดข้อมูลหรือพล็อตแล้ว ผู้เขียนบทจะต้องหากลวิธีนำเสนอที่น่าสนใจสามารถดึงดูดให้ผู้ชมสนใจได้
3. คิดให้เป็นภาพ
ปัญหาของผู้เขียนบทส่วนใหญ่ คือ การไม่ได้เริ่มต้นจากคิดเป็นภาพ เขียนบทไปเรื่อยๆ ตามข้อมูลหรือความคิดคำนึงของตนเอง โดยยังไม่รู้ว่าจะนำเสนออกมาเป็นภาพอย่างไร ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญ เพราะเท่าที่พบงานสารคดีทางโทรทัศน์ส่วนใหญ่จะลอกข้อมูลมาจากหนังสือ โดยยังไม่ผ่านการกลั่นกรอง หรือตีออกมาเป็นภาพเสียก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้สารคดีทางโทรทัศน์จืดชืด เหมือนกับมาอ่านหนังสือให้คนดูฟัง
ที่มา:http://www.huso.kku.ac.th/thai/radio&television/homepage3/doc3_4.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น