“สารคดี” หมายถึง งานเขียนที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลที่มีตัวตนจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง มีเจตนาเบื้องต้นในการให้สาระ ความรู้ ความคิด ทั้งนี้ ต้องมีกลวิธีการเขียนให้เกิดความเพลิดเพลิน
ลักษณะของสารคดี
1. เนื้อเรื่องมีสาระประโยชน์ เป็นงานเขียนที่มุ่งให้ผู้อ่านเกิดความรู้ ความคิด
2. เนื้อเรื่องไม่จำกัดว่าจะเป็นเรื่องใด ถ้าเห็นว่าเนื้อหานั้นมีสาระบันเทิงก็สามารถนำมาเขียนได้
3. การใช้สำนวนภาษาสร้างความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน และผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน
4. สารคดีเป็นเรื่องราวที่ไม่ค่อยล้าสมัย ไม่มีการจำกัดกาลเวลาเหมือนข่าว
ประเภทของสารคดี
สารคดีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1. สารคดีวิชาการ เป็นเรื่องที่ให้ความรู้วิชาการแขนงต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ศาสนศาสตร์ เป็นต้น
2. สารคดีทั่วไป เป็นเรื่องที่ให้ความรู้และความรอบรู้ทั่วๆ ไป เช่น การท่องเที่ยว การเล่นกีฬา งานอดิเรก สงคราม อุบัติเหตุ ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ การทำขนม ตัดเย็บเสื้อผ้า การออกกำลังกาย เป็นต้น
3. สารคดีชีวประวัติ เป็นการเขียนเกี่ยวกับบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือบุคคลที่มีความสามารถเป็นพิเศษ ผู้เขียนจะต้องมีข้อมูลอย่างถูกต้อง ให้ความเป็นธรรม ปราศจากอคติลำเอียง เขียนโดยการไปสัมภาษณ์เจ้าของประวัติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้นั้น แล้วนำเอาสิ่งที่เป็นสาระมาเขียนไว้ เพื่อให้เกิดความรู้ ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน
องค์ประกอบของสารคดี
1. คำนำ คือ การเริ่มต้นเรื่องโดยการเกริ่นให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องที่จะเขียนนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นการเสนอทรรศนะอย่างกว้างๆ ไว้ก่อน ไม่ต้องอธิบายอย่างละเอียด และไม่ต้องเขียนยาวมากนัก มีเพียงย่อหน้าเดียว ควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้ได้ทราบข้อมูล เรื่องที่น่ารู้และน่าสนใจ
2. เนื้อเรื่อง คือ การขยายเนื้อความให้ผู้อ่านได้ทราบข้อมูล รายละเอียด โดยอาจแทรกสถิติ ตัวอย่างประกอบ เพื่อความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเขียนเนื้อเรื่องอาจมีหลายย่อหน้า
3. สรุป คือ การเขียนข้อความในตอนท้ายของเรื่อง ผู้เขียนต้องใช้ศิลปะในการสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน อาจใช้กลวิธีอย่างเช่น สรุปโดยการใช้สำนวน คำพังเพย หรือ คำคม หรือ ทิ้งท้ายด้วยคำถามที่น่าสนใจ การเขียนสรุปควรมีเพียงย่อหน้าเดียว
ที่มา:http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/sara.htm
1. เนื้อเรื่องมีสาระประโยชน์ เป็นงานเขียนที่มุ่งให้ผู้อ่านเกิดความรู้ ความคิด
2. เนื้อเรื่องไม่จำกัดว่าจะเป็นเรื่องใด ถ้าเห็นว่าเนื้อหานั้นมีสาระบันเทิงก็สามารถนำมาเขียนได้
3. การใช้สำนวนภาษาสร้างความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน และผ่อนคลายความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน
4. สารคดีเป็นเรื่องราวที่ไม่ค่อยล้าสมัย ไม่มีการจำกัดกาลเวลาเหมือนข่าว
ประเภทของสารคดี
สารคดีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1. สารคดีวิชาการ เป็นเรื่องที่ให้ความรู้วิชาการแขนงต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ศาสนศาสตร์ เป็นต้น
2. สารคดีทั่วไป เป็นเรื่องที่ให้ความรู้และความรอบรู้ทั่วๆ ไป เช่น การท่องเที่ยว การเล่นกีฬา งานอดิเรก สงคราม อุบัติเหตุ ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ การทำขนม ตัดเย็บเสื้อผ้า การออกกำลังกาย เป็นต้น
3. สารคดีชีวประวัติ เป็นการเขียนเกี่ยวกับบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือบุคคลที่มีความสามารถเป็นพิเศษ ผู้เขียนจะต้องมีข้อมูลอย่างถูกต้อง ให้ความเป็นธรรม ปราศจากอคติลำเอียง เขียนโดยการไปสัมภาษณ์เจ้าของประวัติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้นั้น แล้วนำเอาสิ่งที่เป็นสาระมาเขียนไว้ เพื่อให้เกิดความรู้ ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน
องค์ประกอบของสารคดี
1. คำนำ คือ การเริ่มต้นเรื่องโดยการเกริ่นให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องที่จะเขียนนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นการเสนอทรรศนะอย่างกว้างๆ ไว้ก่อน ไม่ต้องอธิบายอย่างละเอียด และไม่ต้องเขียนยาวมากนัก มีเพียงย่อหน้าเดียว ควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้อ่านให้ได้ทราบข้อมูล เรื่องที่น่ารู้และน่าสนใจ
2. เนื้อเรื่อง คือ การขยายเนื้อความให้ผู้อ่านได้ทราบข้อมูล รายละเอียด โดยอาจแทรกสถิติ ตัวอย่างประกอบ เพื่อความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเขียนเนื้อเรื่องอาจมีหลายย่อหน้า
3. สรุป คือ การเขียนข้อความในตอนท้ายของเรื่อง ผู้เขียนต้องใช้ศิลปะในการสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่าน อาจใช้กลวิธีอย่างเช่น สรุปโดยการใช้สำนวน คำพังเพย หรือ คำคม หรือ ทิ้งท้ายด้วยคำถามที่น่าสนใจ การเขียนสรุปควรมีเพียงย่อหน้าเดียว
ที่มา:http://courseware.payap.ac.th/docu/th203/content/sara.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น